นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ประชุมได้พิจารณาและประกาศให้มหาวิทยาลัยที่เข้าหลักเกณฑ์ 9 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเป็นครั้งแรก จากที่เสนอขอมา 15 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการประกาศชื่อประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งหลังจากนี้ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดงบประมาณสนับสนุน ให้เกิดผลงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคม ที่สามารถใช้ได้จริง โดยจะมีคณะกรรมการประเมินผลทุก 6 เดือน หากครบ 1 ปีประเมินแล้วไม่มีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องถูกถอดออกจากการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ “หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ คือ เป็นมหา วิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ 1 ใน 500 ของมหาวิทยาลัยโลกในการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์ Times Higher Education หรือหากไม่อยู่ในอันดับดังกล่าวจะต้องมีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการไม่ต่ำกว่า 500 เรื่อง ใน 5 ปีล่าสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ของการจัดอันดับ และมีสัดส่วนอาจารย์ที่จบวุฒิปริญญาเอกมากกว่า 40% ของอาจารย์ทั้งหมด” นายจุรินทร์ กล่าว.
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552
9 มหาลัย ดังขึ้นทะเบียน ม. วิจัยรุ่นแรก
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ประชุมได้พิจารณาและประกาศให้มหาวิทยาลัยที่เข้าหลักเกณฑ์ 9 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเป็นครั้งแรก จากที่เสนอขอมา 15 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการประกาศชื่อประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งหลังจากนี้ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดงบประมาณสนับสนุน ให้เกิดผลงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคม ที่สามารถใช้ได้จริง โดยจะมีคณะกรรมการประเมินผลทุก 6 เดือน หากครบ 1 ปีประเมินแล้วไม่มีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องถูกถอดออกจากการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ “หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ คือ เป็นมหา วิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ 1 ใน 500 ของมหาวิทยาลัยโลกในการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์ Times Higher Education หรือหากไม่อยู่ในอันดับดังกล่าวจะต้องมีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการไม่ต่ำกว่า 500 เรื่อง ใน 5 ปีล่าสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ของการจัดอันดับ และมีสัดส่วนอาจารย์ที่จบวุฒิปริญญาเอกมากกว่า 40% ของอาจารย์ทั้งหมด” นายจุรินทร์ กล่าว.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)