สวัสดีเพื่อนๆทุกคน!! ผลสอบออกแล้ว ดีใจหรือเสียใจดีเนี้ย เหอเหอเหอ~~~

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สมัครตายแล้ว...หัวเรื่องที่ไม่ได้มีเจตนาจะเรียกร้องความสนใจที่เกินเลย...ผมพยายามคิดเรื่องนี้อยู่นานพอควร...รีรอปฏิกิริยาจากนายสมัคร...ว่าจะเป็นเช่นใดกรณีเดินทางไปรักษาตัวที่สหรัฐอเมริกา..แล้วเกิดกรณีการประท้วงของพันธมิตร
แต่กลับไม่พบว่านายสมัครได้สำนึกใดต่อการกระทำของตนเอง...จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะใช้คำว่า...” สมัคร ตายแล้ว “
สมัครตายแล้ว...สมัครไม่มีวันตื่นฟื้นขึ้นมารับรู้สัจจธรรมได้อีกแล้ว.......
ความจริง...เกิด แก่ เจ็บ ตาย....เป็นธรรมดาของสัตว์โลก...มีแต่คนที่หลงมัวเมาจนลืมมันไปสิ้น
ลืมไปว่าความจริงนี้ไม่สามารถหลีกหนีมันพ้น...มีแต่เด็กและคนหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตประมาท...โดยเข้าใจผิดคิดว่าสิ่งนั้นยังห่างไกล...มีแต่คนแก่เท่านั้นที่เข้าใจ...ท่านเหล่านั้นจึงเพียรพยายามทำความดี..เข้าวัดเพื่อทำสมาธิ...เพื่อเกิดปัญญา....ไม่มีท่านใดที่เพียรพยายามเพื่อหลีกหนีความจริง
ผู้สุงวัย..ยามบั้นปลายชีวิต....หลายท่านได้ทบทวนการกระทำของตนเองตลอดชีวิตที่ผ่านมา
จัดการเรื่องมรดกตกทอดให้ลูกหลาน....จัดการฝากฝังดูแลลูกหลานที่น่าเป็นห่วงอยู่ให้ผู้อื่นดูแล
เท่านั้นไม่พอมีหลายท่านได้จัดการพิธีการศพของตนเองเสร็จสรรพเรียบร้อยเพื่อไม่ให้ลูกหลานต้องเดือดร้อน
นั้นคือผู้พร้อมที่จะต้อนรับความตาย...เขาเป็นมิตรกับความตาย...
ต่างกับนายสมัครผู้มีวัยพอสมควร....มีโรคร้ายที่วงการแพทย์ทั่วโลกเชื่อว่ารักษายังไม่ได้
นายสมัครเพียรพยายามฝืนกฎแห่งกรรม...ยังมืดบอดไม่ต่างจากคนตายที่ไม่สามารถรับรู้อะไรได้อีกแล้ว
การหวังว่านายสมัครจะทบทวนเรื่องในอดีตที่ผ่านมา.....ไม่มีทางที่จะเกิดขึ้น
คงไม่ต่างกับกามนิตที่ถูกวัวขวิดตาย...ทั้งๆที่ได้พบกับพระพุทธเจ้าแล้ว...แต่กามนิตตายก่อนแล้วจึงไม่ได้รับรู้ในรสพระธรรม..ความหลงทำให้กามนิตตายก่อนแล้ว...เขารับรู้สัจจธรรมไม่ได้อีกแล้ว....เขาสิ้นลมหายใจโดยหาได้พบกับสัจจธรรมไม่
การเรียกร้องสำนึกจากนายสมัครก็หาต่างกันไม่.....การได้รู้ถึงอนาคตอันใกล้นี้ว่าตนเองจะพบกับชะตากรรมเช่นใด...แต่หาได้สำนึก…หาได้ใช้เวลาช่วงบั้นปลายที่เหลือน้อยนิดของชีวิตให้เป็นประโยชน์กับตนเอง...นายสมัครกลับหลงงมงาย..ปฏิเสธความจริง..สัจจธรรมที่นายสมัครปฏิเสธ
จะไม่ให้เรียกว่าตายแล้ว...จะเรียกว่าอย่างไรดี
เขาตายก่อนที่ลมหายใจครั้งสุดท้ายจะมาถึง
นายสมัคร..ตายแล้ว
แต่คดีของนายสมัครหาได้ตายไม่....คงเป็นเรื่อง...คงเป็นบทเรียน..คงถูกจารึกลงไปในประวัติศาสตร์...ให้ผู้คนได้เล่าขาน..ได้สาบแช่งต่อไปชั่วกาลนาน

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

PHUKET


Phuket (Thaï ภูเก็ต prononcer "pouket", du malais bukit, "colline") est une des provinces méridionales (changwat) de la Thaïlande. Les provinces voisines sont (du nord dans le sens des aiguilles d'une montre) Phang Nga et Krabi, mais Phuket est une île il n'y a donc aucune frontière terrestre. L'île est desservie par l'Aéroport International de Phuket et un pont qui relie l'île au continent les deux sont situés dans le nord de l'île.


Histoire

L'événement le plus significatif dans l'histoire de Phuket fut l'attaque par les Birmans en 1785 après que le Roi Taksin les eut fait reculer une première fois. Sir Francis Light, un capitaine britannique de Compagnie anglaise des Indes orientales (British East India Company) passant près de l'île, envoya un message à l'administration locale les avertissant que des forces Birmanes se préparaient à une attaque. Kunying Jan, l'épouse du gouverneur récemment décédé, et sa sœur Mook ont alors assemblé les forces de l’île. Après un mois de siège les Birmans ont dû battre en retraite le 13 mars 1785 et les deux femmes sont devenues des héroïnes locales, recevant les noms honorifiques Thao Thep Kasatri et Thao Sri Sunthon du Roi Rama I. Pendant le règne du Roi Chulalongkorn (Rama V), Phuket est devenu le centre administratif de la production d'étain des provinces méridionales. En 1933, le Monthon Phuket a été dissous et Phuket est devenu une province à part entière. Les anciens noms de l'île incluent Ko Thalang, et Junk Ceylan, une distorsion anglaise du Malais, Tanjung Salang (cap Salang). La province de Phuket a été touchée sur sa côte occidentale lors du tsunami du 26 décembre 2004 mais aujourd'hui il ne subsiste plus aucune traces visibles de cet événement si ce n'est un mémorial sur la plage de Patong.


Économie

L'exploitation de mines d'étain a été une source de revenus importante pour l'île depuis le XVIe siècle. Beaucoup d'ouvriers chinois ont été employés dans les mines, et leur influence sur la culture de Phuket peut encore être sentie aujourd'hui. Avec la chute des prix de l'étain, l'exploitation a maintenant complètement cessé. De nos jours, l'économie de Phuket se repose sur deux piliers : plantations d'hévéa (faisant à la Thaïlande le plus grand producteur du caoutchouc dans le monde) et le tourisme. Depuis les années 1980, Phuket est devenue l'une des attractions touristiques principales de la Thaïlande, la plupart des plages sablonneuses sur la côte occidentale de l'île ont été développées en centres touristiques, Patong, Karon et Kata étant les plus populaires. De grands projet faramineux sont annoncés sur l'ile (2 casinos, ile artificielle comme à Dubai...), ce qui verrait le prix de l'immobilier exploser d'ici quelques années.

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

9 มหาลัย ดังขึ้นทะเบียน ม. วิจัยรุ่นแรก


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ประชุมได้พิจารณาและประกาศให้มหาวิทยาลัยที่เข้าหลักเกณฑ์ 9 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเป็นครั้งแรก จากที่เสนอขอมา 15 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการประกาศชื่อประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.เกษตรศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งหลังจากนี้ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดงบประมาณสนับสนุน ให้เกิดผลงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคม ที่สามารถใช้ได้จริง โดยจะมีคณะกรรมการประเมินผลทุก 6 เดือน หากครบ 1 ปีประเมินแล้วไม่มีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องถูกถอดออกจากการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ “หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ คือ เป็นมหา วิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ 1 ใน 500 ของมหาวิทยาลัยโลกในการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์ Times Higher Education หรือหากไม่อยู่ในอันดับดังกล่าวจะต้องมีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการไม่ต่ำกว่า 500 เรื่อง ใน 5 ปีล่าสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ของการจัดอันดับ และมีสัดส่วนอาจารย์ที่จบวุฒิปริญญาเอกมากกว่า 40% ของอาจารย์ทั้งหมด” นายจุรินทร์ กล่าว.

วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ศาสนาคริสต์ แบ่งออกเป็น 3 นิกายสำคัญคือ

...นิกายโรมันคาทอลิค..........นิกายโรมันคาทอลิคมีประวัติความเป็นมา ตั้งแต่เปโตรได้รับการสถาปนาจากพระเยซูให้เป็นผู้ดูแลพระศาสนจักร เราอาจกล่าว ได้ว่า ท่านเป็นสันตะปาปาคนแรกที่ทุกคนต้องยอมรับนับถือและมีศรัทธาเชื่อฟังอย่างเดียว ในฐานะที่เป็น “ผู้ดูแลฝูงแกะ” ของ พระเจ้า ความคิดแบบนี้ได้สืบทอดกันต่อมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระสันตะปาปาจึงมิได้อยู่ในฐานะ นักบวชเท่านั้นแต่เป็นประมุข สูงสุดของศาสนจักรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสั่ง นิกายโรมันคาทอลิคจึงเป็นนิกายที่มุ่งมั่น ให้สัตบุรุษมีศรัทธาและปฏิบัติตาม พระศาสนจักร เพราะพระศาสนจักรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรแห่งสวรรค์ และเป็นองค์กรที่สามารถนำประชาชนไปสู่การบรรลุ เป้าหมายตามภาระกิจที่พระเจ้าได้มอบไว้ มนุษย์จะรอดพ้นจากทุกข์ และบาปกำเนิด (original sin) ที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ได้นั้น ต้องอาศัยคำสอนของพระเจ้าซึ่งปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิล และอีกหนทางหนึ่งก็คือ การปฏิบัติตามศีลศักดิ์สิทธิ์ (Sacrament) อันเป็นสื่อสัมพันธ์โดยองค์พระบุตรของพระเจ้า ได้มอบจิตของพระองค์ดำรงอยู่กับศาสนจักรนี้ โดยให้พระศาสน จักรเป็นเครื่องหมายและเครื่องมอสำหรับความรอดต่อไป และเป็นเครื่องหมายของอาณาจักรพระเจ้าซึ่งจะมาปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน วาระสุดท้าย ศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งปรากฏออกมา ในรูปของพิธีกรรมจึงเป็นเครื่องเตือนสติ และเป็นกำลังใจแก่ผู้ที่มีความเชื่อในพระเจ้า สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้อง การรับศีลศักดิ์สิทธิ์และการศึกษาพระคัมภีร์จึงมีความเท่าเทียมกัน และเป็นคู่กันในชีวิตคริสต์ คาทอลิค ชาวคริสต์คาทอลิค จำเป็นต้องอ่านพระคัมภีร์ให้มาก และรับศีล ศักดิ์สิทธิ์ให้มากครั้งตามโอกาสอันควร ทั้งนี้เพื่อการปฏิรูปชีวิตให้ดีขึ้น
...นิกายโปรเตสแตนท์..........นิกายนี้มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและคริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า“โปรเตสแตนต์” (Protestant) ซึ่งแปลว่า “ประท้วง” อาจารย์เสรี พงศ์พิศ (2531 : 71-74) ได้กล่าวถึงนิกายนี้ว่า เป็นกุล่มที่แยกตัว ออกมาจากพระศาสนจักร คาทอลิคประมาณศตวรรษที่ 14-15 โดยเริ่มจากกลุ่มใหญ่ที่มี การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง กลุ่มที่เป็น ตัวเคลื่อนไหวนี้มี 3 กลุ่ม คือ นิกายลูเธอร์รัน (Lutheran) กลุ่มคริสตรจักรฟื้นฟู (Reformed Christianity) และ นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England)
เหตุแห่งความแตกแยกของคริสต์ศาสนา
สาเหตุที่ทำให้เกิดแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ และแยกตัวออกจากศาสนาจักรโรมันคาทอลิคนั้นสรุปได้เป็น 3 ประเด็น คือ
..........1.สืบเนื่องมาจากการประพฤติของนักบวชในสมัยนั้นที่ไม่เป็นไปตามคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลและนิยมที่จะตีความหลักคำสอนไปตามใจชอบโดยไม่มีเหตุผล เป็นเหตุให้เกิดศาสนาพาณิชย์ ค้าขายใบบุญ ไถ่บาป เก็บภาษีไร่นา ตลอดจนเรี่ยไรเงินเข้าวัด นักบวชมีชีวิตอย่าง หรูหราฟุ่มเฟือย ไม่ถือสันโดษ ศาสนจักรมีนโยบายผูกขาดความรู้ทางศาสนา และการสอนศาสนานั้นมีไว้ให้เฉพาะพวกนักบวชเท่านั้น
..........2.ความเจริญในทางวิชาการมีมากขึ้น ประกอบกับมีการสร้างเครื่องพิมพ์และตั้งโรงพิมพ์ขึ้นมากมาย ทำให้มีการเผยแพร่ตำราต่างๆอย่างกว้างขวาง การสื่อสารต่างๆ จึงเป็นไปอย่างรวดเร็วพระคัมภีร์ไบเบิลได้ถูกแปลถ่ายทอด เป็นภาษาพื้นเมืองต่างๆ แม้แต่ชาวบ้านก็สามารถอ่านได ทำให้เกิดการเผยแพร่ความรู้ทางศาสนา ซึ่งแต่ก่อนมานั้นนักบวชทำหน้าที่ เป็นสื่อระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ทำให้มีความสำคัญมากต่อเมื่อมีคนสามารถอ่านคัมภีร์ได้แล้ว ความสำคัญของนักบวชลดน้อยลง ความรู้ความเข้าใจในศาสนาของประชาชนกลับมีมากขึ้น จนนักบวชไม่สามารถปิดบังความรู้นั้นไดต่อไปอีกทั้งคนทั่วไปยังสามารถ วิพากษ์วิจารณ์ตีความสำสอนในคัมภีร์ไบเบิลได้
..........3.ความรู้สึกเป็นชาตินิยม (nationalism) มีมากขึ้นในสมัยนี้ แต่ละแคว้นต่างรวมตัวคนในชาติเดียวกัน ปลุกใจให้เกิดความ.รักชาติรักเผ่าพันธุ์ และพยายามแยกตัวออกเป็นอิสระจากศาสนจักร
...........ด้วยเหตุที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ จึงเกิดเป็นกลุ่มฟื้นฟูศาสนากลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่มคือ ..........1.นิกายลูเธอรัน (Lutheran)
............ผู้นำคนสำคัญ คือ มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1483-1546 เกิดที่แซกซอนนี (Saxony) ประเทศเยอรมัน ได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอกและได้ศึกษาเทวศาสตร์ จากสถาบันต่างๆ จากนั้นได้เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญทีกรุงโรม ทำหใเห็นสภาพต่างๆ ในศาสนจักร ต่อมาท่านได้ตีความพระคัมภีร์ไบเบิล และวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง ความคิดเลยต่อเนื่องมา วิจารณ์พระศาสนจักรซึ่งในขณะนั้นมีการขายในบุญกันมาก ความคิดของมาร์ติน ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุน พระศาสนจักรซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก ความคิดของมาร์ติน ลูเธอร์ได้รับการสนับสนุนจากมหาชน เยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลายออกไปทั่วยุโรป ทำให้พระสันตะปาปาไม่พอพระทัย มาร์ติน ลูเธอร์

...........รับหมายขับออกจากการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร (excommunication) ในปี ค.ศ. 1521 ตรงจุดน้ำด้นำไปสู่การแตกแยกเป็น นิกายใหม่ในเวลาต่อมา ชีวิตของลูเธอร์ในระยะนี้ต้องหลบลี้ตลอดเวลา........... แต่ก็ทำให้ท่านมีเวลาแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนเกี่ยวกับพิธีกรรมรวมทั้งศีลสิทธิ์เป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ชาวบ้านและคนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักคำสอนและพิธีกรรม ซึ่งแต่เดิมมาเขียนเป็นภาษาละติน จึงยากแก่การสื่อความหมาย ให้เข้าถึงได้ จึงรู้ได้เฉพาะปัญญาชน นักบวชและนักศาสนาเท่านั้น ...........ผลงานของลูเธอร์นี้ได้สร้างคุณประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ ละตินได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอที่ต้องให้บุคคลสามารถรับผิดชอบ ในความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น พระหรือนักบวช กฎเกณฑ์ต่างๆ ในศาสนาเป็นเพียงสิ่งเปลือกนอก ที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้าต่อพระพักตร์พระเจ้าด้วยตนเอง นิกายนี้จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรมตลอดจน ศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่ศีลล้างบาปและศีลมหาสนิท และสนับสนุนให้บุคคล เอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะ ของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความรอดส่วนบุคคลภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์ ์จึงไม่มีรูปเคารพและศิลปกรรมที่ตกแต่งดังเช่น โบสถ์คาทอลิคบนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้นที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้ เป็นเพียงเปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดไหม่สามารถเข้าถึงพระเจ้า ได้เพียงเปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือยึดติดไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้ ..................... การปกครองทางศาสนาของนิกายน้ำได้แบ่งออกเป็นหมู่ (congregation) ซึ่งประกอบไปด้วยคริสตชนกลุ่มหนึ่งผู้อภิบาล (Pastor) หลายๆ หมู่รวมกันเป็นไซโนด (Synode) หลายไซโนดรวมเป็นกลุ่มไซโนด (General Synlde) มีบิชอป (Bishop) เป็นผู้นำ นิกายนี้สมาชิกผู้นับถือส่วนมากอยู่ในประเทศเยอรมัน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย
..........2.กลุ่มคริสตจักรฟื้นฟู (Reformed Christianity)..........ผู้นำคนสำคัญที่มีความเคลื่อนไหวมากไดแก่ สวิงลี (Ulrich Zwingli) และคาลวิน (John Calvin) ...........2.1อูลริช สวิงลี (Ulrich Zwingli) เกิดที่สวิสดเซอร์แลนด์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1848-1531 ได้รับแนวความคิดจากลูเธอร์ และปรัชญามนุษยนิยม (Humanism) อูลริชไม่เห็นด้วยกับ ความคิดที่ว่าพิธีล้างบาป และพิธีลมหาสนิท เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นเพียงคงามเชื่อภายนอกเท่านั้น หาใช่ความเชื่อในพระเจ้าอย่างแท้จริง เพราะพิธีล้างบาปก็คือการปฏิญาณตน และพิธีศีลมหาสนิท หรือมิสซาก็คือการระลึกถึงวันเลี้ยงมื้อสุดท้าย ของพระเยซูเท่านั้น พิธีเหล่านี้ ไม่ใช่พิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ในตัวของตัวเองดังที่เชื่อกันในสมัยนั้น จนทำให้คนส่วนมากละเลยที่จะศึกษาพระวจนะจากพระคัมภีร์และยึดติดที่ตัวพิะกรรมมากกว่าจะ ปฏิบัติเข้าถึงทาง แห่งความรอดด้วยตนเอง เขาได้ปรับพิธีกรรมให้เรียบง่าย และเน้นที่แก่นแท้ของคำสอน เช่น งานเลี้ยงมื้อสุดท้าย
..........แทนที่จะเน้นว่าขนมปังและเลือดคือพระกายและพระโลหิตแต่จะเน้นที่คำสอนของพระเยซูที่ว่า “จงทำสิ่งนี้ เพื่อระลึกถึงฉัน” งานเลี้ยงอาหารค่ำจึงสำคัญในประเด็นที่เป็นพิธีเพื่อระลึกถึงพระเยซู และความตายที่พระเยซูได้ยอมให้เกิดขึ้นเพื่อการไถ่บาปให้แก่มนุษยชาติ ถ้ามองกันตามรูปแบบของพุทธศาสนาก็คือ ความตายองพระเยซูเป็นการสอนให้มนุษย์ไดรู้จักความหมายของการให้ที่แท้จริง อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการถอนความยึดถือในตัวตน ....................แนวคิดของสวิงสีแพร่หลายในสวิสเซอร์แลด์ และได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองท้องถิ่น ทำให้แคว้นต่างๆ ในภูมิภาคแถบนี้ สามารถรวมตัวกันเป็นสหพันธ์โดยมีนิกายเป็นตัวเชื่อม
..........2.2นิกายคาลวิน (Calvinism) ผู้ริเริ่มและบุกเบิกนิกายนี้ คือ จอห์น คาลวิน (John Calvin) หรือคาลแวง เป็นชาวฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาไดสนใจแนวคิดทางศาสนาของลูเธอร์และสวิงลี จึงได้รับคำสอนเหล่านั้นมาปรับปรุง และเริ่มสอนที่ฝรั่งเศลและสวิสคำสอนเของเขาแพร่หลายเข้าไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า เปรสไบทีเรียน (Presbyterian)

..........คาลวินมีอิทธิพลมากในหรุงเจนีวา เขาถูกเชิญไปที่นั่นหลายครั้งจนกระทั่งได้อาศัย อยู่ที่เจนีวาจนสิ้นใจในปี ค.ศ. 1564 ผลงานที่สำคัญค้อ หนังสือศาสนาที่ต่อมาได้กลายเป็น หลักเทวศาสตร์ ของ โปรเตสแตนต์ ชื่อ “สถาบันทางศาสนาคริสต์”(The Institutes of the Christian Religion) แต่เดิมเขียนเป็นภาษาละตินแต่ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสในเวลาต่อมา และถูกพิมพ์ถึง 4 ครั้ง .......... ในช่วงที่คาลวิน มีชีวิตอยู่ หนังสือเล่มนี้ช่วยให้เราสามารถเข้าใจศรัทธาของชาวคริสต์ คำสอนของ นักบุญออกัสติน (St. Augustin) อีกทั้งทำให้เราเข้าใจอำนาจของพระเจ้า เข้าใจในเรื่องบาปกำเนิด และชะตาที่ถูกลิขิตโดยพระเจ้า นอกจากนี้คาลวินได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย เจนีวา และทำให้กรุงเจนีวา เป็นศูนย์นัดพบของชาวโปรเตสแตนต์ทั่วยุโรป เราอาจกล่าวได้ว่า แนวคิดของคาลวินมีอิทธิพลต่อกลุ่มฟื้นฟู คริสตศาสนามาก เช่น พวกเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England) หรือแองกลิคัน (Anglicanism) พวกเพรสไบทีเรียน (presbyterian) พวกแบติสต์ (Baptist) และโปรเตสแตนต์กลุ่มอื่นๆ เป็นต้น
..........3.นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England)
...........หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “แองกลิคัน” (Anglicanism) มีกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยมีสาเหตุมาจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ต้องการให้พระสันตะปาปา จึงไม่พอพระทัยประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่า เชิร์ช ออฟ อิง แลนด์ (Church of England) ไม่ขึ้นต่อกรุงโรม และทรงแต่งตั้งโธมัส แคลนเมอร์ (Thomas Cronmer) เป็นอาร์คบิชอป (Archbishop) แห่งแคนเทอเบอรี่ (Canterbury) ในปี ค.ศ. 1533........... นอกจากนี้หลักคำสอนของลุเธอร์และคาลวิน ได้รับความนิยมอย่างมากในอังกฤษ และต้องการตัดส่วนเปลือกของศาสนาออกไปให้เหลือแต่แก่นแท้ของศาสนาล้วนๆ เช่น การตัดพิธีกรรมบางอย่างที่เกิดจำเป็น การอนุญาติให้ทุกคนอ่างพระคัมภีร์ได้ ........... อย่างไรก็ตามแม้ว่าคริสตจักรอังกฤาได้แยกตัวออกจากกรุงโรมอย่างเด็ดขาดแล้ว แต่พิธีกรรมความเชื่อการบริหารงานต่างๆ ยังคงคล้ายกับคาทอลิคกรุงโรม
นิกายต่างๆ ในโปรเตสแตนต์
...........กลุ่มฟื้นฟุศาสนาตามที่กล่าวมาในตอนต้นนี้ทั้ง 3 กลุ่ม ได้ทำให้เกิดนิกายเล็กๆ ต่อมาอีกมากมายซึ่งล้วนแต่รับโครงสร้างของ โปรเตสแตนต์ในที่นี้จะกล่าวถึงบางกลุ่มและบางนิกายเท่าน้น คือ
...........1.นิกายเพรสไบทีเรียน (Presbyterian) เป็นกลุ่มที่ต้องการจัดระบบการปกครองของพระเจ้าให้เป็นระเบียบแบบแผน และให้คงที่ตามหลักของลูเธอร์โดยมีบิชอปเป็นประธาน ความเชื่อขิงนิกายนี้มุ่งเน้นศรัทธา เพราะถือว่าพระของพระเจ้าสามารถ ปลดเปลื้องทุกข์ของมนุษย์ได้ ไม่ใช่พระ พระเป็นเพียงผู้ทำพิธีกรรมเท่านั้น นิกายนี้มีผู้นับถือทั่วโลก คนไทยส่วนมากรู้จักนิกายนี้ดีโดยเฉพาะ ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้สอนศาสนาของนิกายนี้ได้ตั้งโบสถ์และโรงเรียนซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และมี ส่วนเป็นอย่างมากในการตั้งโรงพิมพ์ ศาสนาทูต บางท่านได้รับหน้าที่ถวายความรู้ทางภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
...........2.นิกายเมธอดิสต์ (methodism) เกิดขึ้นโดยจอห์น เวสลีย์ (John Wesley : ค.ศ. 1703-1791) เป็นชาวอังกฤษที่มี จุดประสงค์ต้องการให้ผู้นับถือพระเจ้ามีอิสระภาพมากขึ้น สามารถปฏิบัติศาสนาไปตามหลักของเหตุผลให้เหมาะแก่ชีวิตของตน และเหตุผลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องการรวมพวกโปรเตสแตนต์ที่แตกแยกไปเป็นนิกายต่างๆ ให้อยู่ในแบบเดียวกัน สมาชิกของนิกาย นี้มีทั่วโลกแต่ส่วนมากอยู่ในยุโรปและอเมริกา
...........3.นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (Seven Day Adventists) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของกลุ่มแอดแวนติสต์ นิกายนี้เน้นวันสุดท้ายของโลก และการเสด็จมาของพระคริสต์ในวันพิพากษาโลกเพื่อทำลายล้างคนชั่วและทำให้โลกนี้บริสุทธิ์อีกครั้ง สมาชิกผู้นับถือมีทั่วโลกโดยฉพาะในประเทศไทยนั้นนิกายน้ได้ส่งศาสนฑูตเข้ามาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1918 ศาสนทูตหลายท่าน มีส่วนสร้างความเจริญให้แก่ประเทศไทย เช่น ตั้งโรงเรียน ตั้งสุขศาลา และโรงพยาบาล โรงพยาบาลซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี คือโรงพยาบาลมิชชันที่สะพานขาว เมื่อเงินพยาบาลเจริญก้าวหน้ามากถึงต้องขยายโรงพยาบาลและเปิดโรงเรียนพยาบาล เพื่อให้ความรู้ทางด้านผดุงครรภ์แก่ นักเรียพยาบาลเจริญรุดหน้าตราบเท่าทุกวันนี้
...........4.นิกายเควกเกอร์ (Quaker) หรือสมาคมมิตรภาพ (Society of Friends) เป็นนิกายที่เกิดในอังกฤษโดย ยอร์ช ฟอกซ์(George Fox : 1624-1691) แต่แพร่หลายในอเมริกาโดยวิลเลี่ยม เพน (William Penn : 1644-1718) โดยเฉพาะในรัฐ เพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) เป็นดินแดนแห่งแรกที่เพนได้มาตั้งรกรากและทำการเผยแพร่ศาสนา นิกายนี้ต้องการรื้อฟื้น ศาสนาคริสต์แบบดั้งเดิม จึงเนประสบการณ์ตรงในการเข้าถึงพระเจ้าโดยใช้แสงสว่างที่เกิดขึ้นภายใน (inner light) เพราะพระวจนะ ของพระเจ้ามีชีวิตไม่ใช่เพียงแค่ตัวอักษรที่ปรากฏในพระคัมภีร์ ผู้เชื่อในพระเจ้าเท่านั้นที่จะได้รับการคัดเลือกจากพระองค์ให้ได้ รับพระวจนะจากพระองค์โดยตรง มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติต่อกันเป็นอย่างดีควรให้บริการและช่วยเหลือมนุษย์และสังคมในทุกๆ ด้าน รวมทั้งต่อต้านสงครามทุกรูปแบบ ปฏิเสธการที่ทาสและทำทารุณกรรมแก่เพื่อนมนุษย์ ...........นิกายนี้ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมหรือศีลศักดิ์ศิทธิ์ที่เน้นสัยลักษณ์ทางวัตถุ เพราะจะทำให้จิตใจของมนุษย์หันเหออกจากสมาธิตามธรรมชาติ การสวดมนต์อย่างเงียบๆ จะช่วยให้มนุษย์ได้รับแสงสว่างภายในได้ดี
...........5.นิกายพยานพระยะโฮวา (Jehovah’s Witnesses) นิกายนี้เกิดจากการรวมกลุ่มของพวกโปรเตสแตนต์ ที่ต้องการปฏิรูปคำสอนให้เป็นไปในแบบเดิม โดยเฉพาะแบบอบ่างในการนมัสการพระเจ้า คือ พระยะโฮวา ทั้งนี้เพราะพวกโปรแตสแตนต์ ส่วนมากได้แตกกลุ่มออกไปเป็นหลายพวกเพราะความสับสนในคำสอน และความไม่ชัดแจ้งของหลักคำสอน ชาร์ล รัสเซลล์ (Charles Russell) ซึ่งเป็นชาวอเมริกัน ได้ริเริ่มตั้งนิกายนี้ขึ้นมาโดยเริ่มแรกมีการรวมกลุ่มกันที่มลรัฐเพนซิลเวเนีย และขยายตัวออกไปทั่ว มีผู้สนใจกันมาโดยเฉพาะชนชั้นกรรมกรและคนชั้นกลาง ถึงกับมีการตั้งสมาคมเผยแผ่ลัทธิที่เรียกว่า “หอสังเกตการณ์” (Watch Tower) และมีการพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
...........6.นิกายมอร์มอน (Mormonism) หรือศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งสิทธิชนยุคสุดท้าย (The Church of Jesus Christ of Latter-Day Saints) ผู้ก่อตั้งคือ โจเซฟ สมิธ (Joseph Smith) ผู้เติบโตท่ามกลางบรรยากาศทางศาสนา แบบกลุ่มฟื้นฟูชีวิต (Revivalists) ในนิวยอร์ค (New York) หลักคำสอนของศาสนาเหมือนคำสอนทั่วๆ ไปของศาสนาคริสต์ เพียงแต่เพิ่มความเชื่อในคัมภีร์มอร์มอน (Book of Mornon) ซึ่งกันว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับมาจากมอร์มอน และเชื่อกันว่า คัมภีร์นี้เป็นพระวจนะของพระเจ้าเดิมจารึกในภาษาโบราณ แต่แปลความหมายโดยโจเซฟ สมิธ ออกพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1830 เนื้อหาบางส่วน ในคัมภีร์ ได้กล่าวถึงประวัติศาสตร์อเมริกาที่มีผู้อพยพในยุคแรกๆ เป็นกลุ่มชนที่มาจากปาเลสไตน์ เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษ ของพวกอเมริกันอันเดียน ความเป็นเชื่อตรงจุดนี้อาจแตกต่างจากนักประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไป สมิธิได้รับการยกย่องจากพวกมอร์มอน ให้เป็นประกาศยุคใหม่ของนิกาย และสานุศิษย์ได้ช่วยกันสร้างวิหารขึ้นมาเป็นครั้งแรกในนิวยอร์ค ...........นิกายมอร์มอนแพร่หลายมากในนิวยอร์คและรัฐอื่นๆ เช่น โอไฮโอ (Ohio) มิสซูรี (Missonuri) อิลลินอยส์ (Illinois) และยูทาห์ (Utah) นิกายนี้ส่งเสริมและเผยแพร่ทางด้านศาสนา และช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทางด้านการศึกษาและสาธารณกุศล
...นิกายออร์ธอด็อกซ์ ...........ความเป็นมาของนิกายนี้ สืบย้อนได้ถึงศตวรรษในคริสตศาสนา อันเป็นช่วงระยะเวลาที่จักรวรรดิโรมันถูกแบ่งแยกออกเป็นสองอาณาจักร คือ โรมันตะวันตกมีศูนย์กลางที่กรุงโรม (Rome) ใช้ภาษาละตินเป็นภาษากลาง ส่วนโรมันตะวันออกซึ่งนิกายเรียกกันว่า ไบแซนทีน (Byzantine) มีศูนย์กลางที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) มีสหมิตรที่เป้นแนวร่วมเดียวกัน คือ เมืองอาเล็กซานเดรีย (Alexandria) อันติอ็อค (Antioch) และเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ใช้ภาษากรีกเป็นภาษากลางสื่อสารทั่วไปอาณาจักรทั้งสองนี้มีการแข่งันกันมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนา ศิลป วัฒนธรรม และการเมืองแม้นว่าจะนับถือศาสนาคริสต์เหมือนกน แต่มุมมองในด้านความเชื่อต่างกัน เช่น ฝ่ายนิกายออร์ธอด็อกซ์ ไม่บังคับในเรื่องการถือโสดของนักบวช ไม่บังคับในเรื่องการอดอาหาร การไว้หนวดเครา ปฏิเสธการไถ่บาปของบาทหลวงคาทอลิคเพราะเห็นว่า ไม่จำเป็น การไม่ยอมรับในอำนาจของพระสันตะปาปาและการตีความเกี่ยวกับ พระตรีเอกภาพก็ต่างกัน พระสันตะปาปากรุงโรมจึงขับออกจากศาสนจักร กลุ่มออร์ธอด็อกซ์ได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกรุงโรม แล้วแรียกกลุ่มของตนว่า “ออร์ธอด็อกซ์” (Orthodox) ซึ่งมีความหมายว่า “หลักธรรมที่เที่ยงตรง” หรือ “หลักธรรมที่ถูกต้อง” ทั้งนี้เพราะพวกออร์ธอด็อกซ์เชื่อว่า หลักคำสอนที่พวกตนปฏิบัติอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง มีเหตุผลไม่งมงาย พิธีกรรมความเชื่อต่างๆ ล้วนได้อิทธิพลจากกรีก อันเป็นแหล่งที่มรของความเชื่อที่ถูกต้องเป็นเหตุเป็นผล ศาสนจักรของโรมันตะวันออกเจริญรุ่งโรจน์อยู่นาน จนกระทั่งอาณาจักรโรมันตะวันตกล่มสลายตกเป็นของพวกอนารยาชนในระยะเวลาหนึ่ง อาณาจักรโรมันตะวันออกก็สูญเสียให้แก่พวกเตอร์ก (Turk) ในปี ค.ศ. 1453 นับแต่นั้นมาศานาอิสลามได้เข้าไปมีบทบาทแทน
...........แม้นว่ากรุงคอนแสตนติโนเปิลโดยทั่วไปเป็นของพวกเตอร์ก แต่ผู้ถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ยังคงมีอยู่บ้าง ส่วนมากแพร่หลายในแถบ ยุโรปตะวันออกและรัสเซีย ทำให้เกิดนิกายออร์ธอด็อก์แบบสลาฟ (Slavic Orthodox) และนิกายออร์ธอด็อกซ์แบบรัสเซีย (Russia Orthodox) ซึ่งแต่เดิมมาทั้งหมดนี้เคยเป็นแบบนิกายกรีก ออร์ธอด็อกซ์ (Greek Orthodox) โดยเฉพาะที่รัสเซียนั้น ศาสนาเจริญ รุ่งเรืองมากอาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรโรมันแห่งที่สาม มีศูนย์กลางที่มอสโคว์ (Moscow) อย่างไรก็ตาม พอสิ้นสุดระบบการปกครอง แบบสมบูรณาญาสิทธิราช เข้าสู่ยุคการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ความรุ่งเรืองของศาสนาได้ลดลงไป แต่ยังไม่ถึงกับศูนย์สลาย เพราะเหตุ ว่าศาสนจักรยังสามารถพิมพ์คัมภีร์ไบเบิลเผยแพร่ได้และบางส่วนได้นำส่วนออกขายต่างประเทศ ประมาณกันว่าใน รัสเซียขณะนั้นมีผู้นับถือ ประมาณ 50 ล้านคน มีนักบวช 35,000 คน ข้อมูลนี้เป็นสถิติที่บันทึกไว้ในหนังสือ ศาสนาของโลก (The World’s Great Religions) ของนิตยสารไลฟ์ (Life) ตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1957 นับว่ามีจำนวนผู้นับถือศาสนานี้ไม่น้อยเลยสำหรับสมัยนั้น แต่สำหรับปัจจุบันนี้ เราไม่สามารถทราบจำนวนผู้นับถือศาสนานี้ได้อย่างแน่นอน เพราะเนื่องจากความแปรปรวนทางการเมือง
...........ปัจจุบันนี้ นิกายออร์ธอด็อกซ์มีอิสระภาพในด้านความเชื่อและการปกครองตนเอง โดยไม่ต้องขึ้นต่อสำนักวาติกันของโรม มีปาตริอาร์ค (Patriarch) เป็นประมุข แต่ก็มีออร์ธอด็อกซ์บางกลุ่มที่ยังขึ้นต่อสำนักวาติกันเรียกว่า ออร์ธอด์กซ์คาธอลิค พวกนี้มีพิะกรรมต่างๆ เป็นแบบตะวันออกแต่ระบบการปกครองอยู่ภายใต้การชี้นำของสำนักวาติกัน ประเทศที่นับถือนิกายออร์ธอด็อกซ์ส่วนมากเป็นพวกยุโรป ตะวันออก เช่น โรมาเนีย ฮังการี บูลาเรีย โปรแลนด์ ยูโกสลาเวีย และรัฐเซีย ฯลฯ
...........อย่างไรก็ตาม แม้นว่านิกายออร์ธอด็อกซ์โดยทั่วไป จะปฏิเสธระบบการปกครองและรูปแบบพิธีกรรมของศาสนจักรคาทอลิค แต่ก็ยังคงยอมรับในศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 7 ข้อ เป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทั้งๆ ที่ระเบียบปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างกัน ในส่วนปลีกย่อย แต่ในด้านแก่นหรือเนื้อแท้ของพิธียังคงเป็นแบบเดียวกัน


วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network)
ความหมายของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
องค์ประกอบของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)
1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน
2. ช่องทางการสื่อสาร ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น
3 . สถานีงาน สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host
4. อุปกรณ์ในเครือข่าย - การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
- โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
- ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
5. ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ จัดการระบบเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ทำหน้าที่จัดการด้านการรักษาความปลอดภัย ของระบบเครือข่าย และยังมีหน้าที่ควบคุม การนำโปรแกรมประยุกต์ ด้านการติดต่อสื่อสาร มาทำงานในระบบเครือข่ายอีกด้วย นับว่าซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่าย มีความสำคัญต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างยิ่ง ตัวอย่าง ซอฟต์แวร์ประเภทนี้ได้แก่ ระบบปฏิบัติการ Windows NT , Linux , Novell Netware , Windows XP ,Windows 2000 , Solaris , Unix เป็นต้น

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Saint Zita


Saint Zita (c. 1218 - 27 April 1272) was an Italian saint, the patron saint of maids and domestic servants. She is also appealed to in order to help find lost keys.




She was born in Tuscany, in the village of Monsagrati, not far from Lucca where, at the age of 12, she became a servant in the Fatinelli household. For a long time, she was unjustly despised, overburdened, reviled, and often beaten by her employers and fellow servants for her hard work and obvious goodness. The incessant ill-usage, however, was powerless to deprive her of her inward peace, her love of those who wronged her, and her respect for her employers. By this meek and humble self-restraint, Zita at last succeeded in overcoming the malice of her fellow-servants and her employers, so much so that she was placed in charge of all the affairs of the house. Her faith had enabled her to persevere against their abuse, and her constant piety gradually moved the family to a religious awakening.
Zita often said to others that devotion is false if slothful. She considered her work as an employment assigned her by God, and as part of her penance, and obeyed her master and mistress in all things as being placed over her by God. She always rose several hours before the rest of the family and employed in prayer a considerable part of the time which others gave to sleep. She took care to hear mass every morning with great devotion before she was called upon by the duties of her station, in which she employed the whole day with such diligence and fidelity that she seemed to be carried to them on wings, and studied when possible to anticipate them.
One anecdote relates a story of Zita giving her own food or that of her master to the poor. On one morning, Zita left her chore of baking bread to tend to someone in need. Some of the other servants ensured the Fatinelli family was aware of what happened; when they went to investigate, they claimed to have found angels in the Fatinelli kitchen, baking the bread for her.
St. Zita died peacefully in the Fatinelli house on April 27, 1272. It is said that a star appeared above the attic where she slept at the moment of her death. She was 60 years old, and had served and edified the family for 48 years. By her death, she was practically venerated by the family. After one hundred and fifty miracles wrought in the behalf of such as had recourse to her intercession were juridically proven, she was canonized in 1696.





Her feast day in the Roman Catholic Church is April 27. To this day, families bake a loaf a bread in celebration of St. Zita's feast day.